คำถามที่พบบ่อย FAQ :
วิธีดูแลกระจกหลังติดตั้งฟิล์มกรองแสง
ห้ามเปิดกระจก 3–7 วัน
เพื่อให้กาวเซ็ตตัวสมบูรณ์และไม่เกิดการหลุดล่อนของฟิล์มอย่าเพิ่งเช็ดกระจกภายในในช่วง 7 วันแรก
เพราะอาจทำให้ฟิล์มเคลื่อนหรือเกิดรอยขีดข่วนได้อาจเห็นฝ้าหรือจุดเล็ก ๆ ในช่วงแรก (เป็นปกติ)
เกิดจากความชื้นใต้ฟิล์ม จะค่อย ๆ ระเหยออกเองภายใน 3–4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความหนา- บางของฟิล์มที่ติดตั้งใช้ผ้านุ่มหรือไมโครไฟเบอร์เท่านั้นในการเช็ดฟิล์ม
หลีกเลี่ยงผ้าแห้งสาก ๆ หรือฟองน้ำหยาบห้ามใช้น้ำยาเช็ดกระจกที่มีแอมโมเนีย (Ammonia)
เช่น Windex หรือพวกน้ำยาขัดคราบรุนแรง เพราะจะทำลายชั้นเคลือบของฟิล์มหากติดฟิล์มรถยนต์ หลีกเลี่ยงการขูดน้ำฝ้าภายในกระจก
โดยเฉพาะกระจกบานหลังที่มีลายไล่ฝ้า
พึ่งติดฟิล์มมา มีคราบน้ำเป็นดวงๆ ผิดปกติหรือไม่
ไม่ผิดปกติ หลังติดฟิล์มใหม่อาจพบคราบน้ำเป็นดวงหรือฝ้าเล็กน้อยใต้เนื้อฟิล์ม ซึ่งเกิดจากความชื้นที่ยังระเหยไม่หมด เป็นกระบวนการปกติของการเซ็ตตัวของฟิล์ม ฟิล์มจะค่อย ๆ ใสขึ้นเมื่อความชื้นระเหยหมด จะหายไปภายใน 3-4 อาทิตย์
ติดฟิล์มกรองแสงแล้วจะสามารถใช้ GPS / Easy Pass / M Pass ได้หรือไม่
ฟิล์มติดรถยนต์ Solarkey สามารถใช้งานได้ตามปกติทุกรุ่นไม่รบกวนสัญญาณ GPS, Easy Pass หรือ M Pass แต่อย่างใด
แต่ถ้าหากใช้ฟิล์มแบบโลหะสะท้อนแสง (Metalized หรือ Sputtering) อาจทำให้
สัญญาณ Easy Pass/M Pass ติดๆ ดับๆ หรืออ่านไม่ผ่าน
GPS จับตำแหน่งช้า หรือหลุดตำแหน่งบ่อย
ฟิล์มยิ่งเข้มยิ่งกันร้อนดีจริงไหม ?
จริง ในกรณีเปรียบเทียบคนละความเข้มจากฟิล์มรุ่นเดียวกัน (เช่น ใส, 40%, 60%, 80%)
ไม่จริง ในกรณีฟิล์มคนละรุ่นเนื่องจากกระบวนการผลิตและวัสดุในการใช้ผลิตไม่เหมือนกัน เช่น
ฟิล์มดำเข้มทั่วไป (แบบย้อมสี หรือ Carbon ธรรมดา): อาจดูมืด แต่กันความร้อนได้น้อย
ฟิล์มนาโนเซรามิคใสๆ: ดูโปร่ง แต่กันรังสีอินฟราเรด (IR) และความร้อนได้ดีมาก
ค่าที่แสดงในฟิล์มกรองแสงหมายถึงอะไร ?
- VLT (Visible Light Transmission) ปริมาณแสงที่ผ่านกระจกเข้าไป (%)
ค่ายิ่งสูง ฟิล์มยิ่งใส / ค่ายิ่งต่ำ ฟิล์มยิ่งเข้ม
- IRR (Infrared Rejection) ความสามารถในการกันรังสีอินฟราเรด (%)
ค่ายิ่งสูง กันความร้อนได้ดี
- TSER (Total Solar Energy Rejected) พลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกกันไว้ทั้งหมด (%)
ค่ายิ่งสูง ยิ่งเย็น
- SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) ความร้อนที่ส่งผ่านเข้ามา (ค่านี้ยิ่งต่ำ ยิ่งดี)
ควรติดฟิล์มความเข้มเท่าไหร่ดี ?
การเลือกความเข้มของฟิล์มควรพิจารณาจากทั้ง การใช้งานจริง, ความปลอดภัย, และ ความชอบส่วนบุคคล ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลักดังนี้
บานหน้ารถ ควรเลือกความเข้มไม่เกิน 40–60%
เพื่อให้การขับขี่กลางคืนหรือในที่แสงน้อยยังคงปลอดภัย มองเห็นชัดเจน หากใช้งานกลางวันเป็นหลักสามารถติด 60%-80% ได้ค่ะบานข้างหลัง / บานหลัง เลือกเข้มได้มากขึ้น 20–40% หรือ 60–80%
ขึ้นอยู่กับความต้องการความเป็นส่วนตัว และการกันความร้อนในพื้นที่ผู้โดยสารควรเลือกฟิล์มที่ความเข้มเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ
หากคุณชอบแสงธรรมชาติ ขับขี่บ่อยช่วงค่ำ – แนะนำฟิล์มใสกันร้อนสูง (นาโนเซรามิก)
แต่ถ้าต้องการความเย็นและความเป็นส่วนตัวมากขึ้น – สามารถเลือกฟิล์มเข้มให้ตรงตามสไตล์
เงื่อนไขการรับประกัน กรณีไหนเคลมฟิล์มได้บ้าง ?
เงื่อนไขการรับประกันฟิล์ม ปัญหาที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของฟิล์ม หลุดร่อน ลอก โปร่ง พอง แห้งกรอบ เบลอ สีเพี้ยน ที่ไม่ได้เกิดจากการติดตั้งและการใช้งานไม่ถูกวิธี
ข้อยกเว้นการรับประกัน ความเสียหายอันเนื่องมาจากการขูด ขัด ลอก โดยบุคคลที่ไม่ใช่ช่างผู้ติดตั้ง การลอกออกหรือทำลายโดยเจตนา การใช้งาน และการดูแลรักษาที่ไม่ถูกต้อง เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ ที่มีขายึดเป็นยางสูญญากาศกับกระจก ฯลฯ
ทำไมช่างต้องใช้กระดาษทิชชู่เสียบไว้หลังจากติดตั้งฟิล์มเสร็จ ?
การใช้กระดาษทิชชู่เสียบไว้ตามขอบกระจก หรือขอบยางหลังการติดตั้งฟิล์ม เป็น เทคนิคมาตรฐาน ที่ช่างฟิล์มมืออาชีพนิยมใช้กัน เพราะมี เหตุผลสำคัญดังนี้
ซับน้ำยาและความชื้นส่วนเกิน
ระหว่างการติดฟิล์มจะใช้น้ำยาในการจัดวางฟิล์มให้เรียบ หากปล่อยให้น้ำยาไหลลงขอบประตูหรือเข้าไปในแผงประตู อาจทำให้เกิดเชื้อรา หรืออุปกรณ์ภายในเสียหายได้ป้องกันคราบน้ำย้อนกลับเข้าแผ่นฟิล์ม
โดยเฉพาะขอบล่างของกระจก หากมีน้ำขังแล้วเลื่อนกระจกขึ้น–ลงทันที อาจทำให้ฟิล์มเป็นคลื่นหรือเกิดฟองอากาศภายหลังได้ช่วยให้ขอบฟิล์มแนบสนิทและเซตตัวได้ดียิ่งขึ้น
กระดาษจะช่วยกดขอบฟิล์มให้ติดแน่นกับขอบยาง ลดโอกาสฟิล์มเด้งหรือหลุดล่อนในภายหลัง